ใครหลายๆคนอาจจะอยากหาที่เที่ยวในช่วงวันหยุดอันแสนสั้น เราขอแนะนำ ทำบุญไหว้พระในจังหวัดอ่างทอง ที่ใครหลายอาจเคยผ่าน ไม่เคยแวะ แต่รู้หรือไม่ว่าจังหวัดอ่างทองนี้ มีวัดพระใหญ่อยู่ด้วย เราขอแนะนำ 7 วัดพระใหญ่ ให้ได้ทำบุญเสริมสิริมงคลแก่ชีวิตด้วยได้แก่
วัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอ เดิมมีวัด 2 วัด อยู่ติดกัน คือ วัดตลาดกับวัดชีปะขาว วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความเป็นมา น่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่า ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎร บวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ
ในตำนานที่ว่าพระนอนพูดได้นั้น มีเรื่องเล่าสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่ามีการระบาดอหิวาตกโรคในบ้านป่าโมก พระรูปหนึ่งนามว่าพระโต ได้อาพาธด้วยอหิวาตกโรค รักษายังไงก็ไม่หาย ตอนนั้น สีกาเหลียนที่เป็นหลานของพระโตได้ไปอธิษฐานต่อองค์พระนอน ทันใดนั้นก็บังเกิดเสียงตอบออกมาจากพระอุระ (อก) ของพระนอน บอกถึงตัวยาที่จะรักษาพระโตให้หาย สีกาเหลียนจึงไปเก็บใบยาตามนั้น มาปรุงยารักษาพระโต จนหาย
วัดราชปักษี(วัดนก) ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) องค์ใหญ่ มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่
และยังมีพระพุทธรูปสร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรมราว พ.ศ. 2163 เดิมประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาศาลาจะพังลงน้ำ พระและชาวบ้านได้ช่วยกันเลื่อนเข้ามาประดิษฐาน ไว้ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 ต่อมาได้ชักชวนกันสร้างพระวิหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉลองเมื่อปี พ.ศ. 2502 เพราะเหตุที่ผ่านอุปสรรคจากกิเลสมารตลอด รอดมาได้ อย่างราบรื่น จึงพร้อมใจกันถวาย พระนามนิมิตรว่า "พระรอดวชิรโมลี" เพื่อเป็นที่สักการะเคารพบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดกาล 5,000 พรรษา
วัดม่วง ตั้งอยู่ที่ ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก
ภายในวัดจะมารูปปั้นแดนนรก ซึ่งหลวงพ่อเกษม ท่านได้สร้างแดนนรก ตามพระไตรปิฎก ที่ระบุถึงเรื่อง การสร้างบุญกุศล ก็ได้รับบุญนั้น และการสร้างแต่บาป ก็ต้องได้รับบาปตามสนองนั้น
ภายในวัดนี้มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ สูง 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ ปัจจุบันนี้ วัดสี่ร้อยเป็นหนึ่งในแหล่ง ท่องเที่ยวน่าไปของจังหวัดอ่างทอง และมีการจัดงานประจำปีของวัดสี่ร้อยขึ้น โดยตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งประชาชนทั่วสารทิศจะมานมัสการหลวงพ่อใหญ่ ขอโชคลาภต่างๆนานา ใครมีทุกข์ร้อนประการใดก็มาบอกเล่าหลวงพ่อใหญ่ และมักมีการแก้บนด้วยพลุและละคร
ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตกาล พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระ ละมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตีเมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคมแก่กล้า ชำนาญการรบด้วยดาบสองมือ จนมีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “กองอาทมาต” เมื่อพระยารัตนาธิเบศร์ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้สั่งให้ขุนรองปลัดชูคุมกองอาทมาต ไปตั้งสกัดกองทัพพม่าที่อ่าวหว้าขาว เหนือที่ว่าการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน
พอกองทัพพม่ายกทัพผ่านมาขุนรองปลัดชูจึงคุมทหารเข้าโจมตีรบด้วยอาวุธสั้นถึงตะลุมบอน แม้ทหารของไทยจะน้อยกว่า แต่ก็สามารถรบกับพม่าจนล้มตายเป็นจำนวนมาก การต่อสู้ผ่านไป 1 คืน ถึงเที่ยงวันรุ่งขึ้น ก็ยังไม่สามารถเอาชนะพม่าได้ เพราะพม่ายกทัพหนุนเข้ามาช่วยอีก ด้วยกำลังที่น้อยกว่าจึงอ่อนแรง ในที่สุดก็ถูกพม่ารุกไล่โจมตีแตกพ่ายยับเยิน แต่ทหารกองอาทมาต มีวิชาอาคมแก่กล้า ฟันแทงไม่เข้า ทหารพม่าจึงไสช้างเข้าเหยียบย่ำทหารกองอาทมาตตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็ถูกไล่ลงทะเลจมน้ำตายไปในที่สุด
ขุนรองปลัดชูพร้อมด้วยทหารกองอาทมาตแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน จึงเสียชีวิตด้วยฝีมือของพม่า เมื่อชาววิเศษไชยชาญทราบข่าวก็พากันโศกเศร้าเสียใจ จึงได้แต่ภาวนาขอบุญกุศล ที่ได้สร้างสมไว้จงเป็นปัจจัยส่งผลให้ดวงวิญญาณทหารกล้าได้ไปสู่สุคติ ความเงียบเหงาวังเวงเกิดขึ้น หมดกำลัง ใจในการทำมาหากิน ไม่มีอะไรดีไปกว่าการร่วมกันสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เป็นที่ระลึกถึงผู้พลีชีพจึงได้สร้างวัดสี่ร้อยขึ้น ในปี พ.ศ.2313 โดยตั้งชื่อวัดตามจำนวนกองอาทมาต 400 คนที่เสียชีวิตไปในการรบ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลังของชาวเมืองวิเศษไชยชาญ ย้ำเตือนความทรงจำให้ระลึกถึงบรรพบุรุษ ที่พลีชีพและปกป้องแผ่นดินจนเสียชีวิต เจ้าอาวาสวัดสี่ร้อยในขณะนั้น จึงได้สร้างเจดีย์ ไว้เป็นที่รวบรวมดวงวิญญาณของ ชาวแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ที่เสียชีวิตจำนวน 400 คน
พระนอนวัดขุนอินทประมูล หรือ พระศรีเมืองทอง ประดิษฐานอยู่ ณ วัดขุนอินทประมูล ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร องค์พระยาว 1 เส้น 5 วา หรือ 50 เมตร ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ พระนอนที่วัดบางพลีใหญ่กลาง จ. สมุทรปราการ สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร ซึ่งยาว 53 เมตร ส่วนพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี ยาว 47 เมตร
จากตำนานกล่าวว่า ขุนอินทประมูล ได้ยักยอกเงินหลวงมาสร้าง ครั้งถูกสอบถามว่าเอาเงินจากใหนมาสร้างพระ ขุนอินทประมูลก็ไม่ยอมบอกความจริง จึงถูกลงโทษจนตาย คงมีความเชื่อที่ว่า ถ้าบอกแหล่งที่มาของเงินแล้ว ตนจะไม่ได้กุศลตามที่ปรารถนา
วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโยวรวิหาร หรือ วัดไชโย ตั้งอยู่ที่ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คาดว่าสร้างมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่ หรือหลวงพ่อโต ไว้กลางแจ้ง องค์เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้น แต่ในระหว่างก่อสร้างพระวิหารนั้น แรงสั่นทำให้องค์หลวงพ่อโตชำรุดเสียหาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นมาใหม่ และพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ภายในวัดไชโยวรวิหาร
วัดต้นสน ตั้งอยู่ที่ 1/1 ถนนเทศบาล 10 ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง วัดต้นสน สันนิษฐานว่าเป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณ พ.ศ. 2310 ผู้คนสมัยก่อนเล่าสืบต่อกันมาว่า ที่วัดแห่งนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก เกือบจะกลายเป็นวัดร้างและไม่มีปูชนียวัตถุใดๆ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2488 พระราชสุวรรณโมลี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอ่างทองริเริ่มการสร้างถาวรวัตถุขึ้นในพื้นที่และขยายอาณาเขตให้กว้างขวาง พระราชสุวรรณโมลี ได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นามว่า "สมเด็จพระพุทธนวโลกุตร ธัมมบดีศรีเมืองทอง" หรือ "สมเด็จพระศรีเมืองทอง"
พระพุทธรูปทองเหลืององค์ใหญ่นามว่า สมเด็จพระพุทธนวโลกุตร หรือ สมเด็จพระศรีเมืองทอง ซึ่งสร้างโดย พระราชสุวรรรโมลี แต่สร้างได้ถึงเพียงพระอุระ (อก) ขององค์พระ พระราชสุวรรณโมลีก็มรณภาพเสียก่อน พระวิสิฐคณาภรณ์ เจ้าอาวาสรูปต่อมาจึงได้ดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จ
ใครหลายๆคนอาจจะอยากหาที่เที่ยวในช่วงวันหยุดอันแสนสั้น เราขอแนะนำ ทำบุญไหว้พระในจังหวัดอ่างทอง ที่ใครหลายอาจเคยผ่าน ไม่เคยแวะ แต่รู้หรือไม่ว่าจังหวัดอ่างทองนี้ มีวัดพระใหญ่อยู่ด้วย เราขอแนะนำ 7 วัดพระใหญ่ ให้ได้ทำบุญเสริมสิริมงคลแก่ชีวิตด้วยได้แก่
วัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอ เดิมมีวัด 2 วัด อยู่ติดกัน คือ วัดตลาดกับวัดชีปะขาว วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความเป็นมา น่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่า ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎร บวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ
ในตำนานที่ว่าพระนอนพูดได้นั้น มีเรื่องเล่าสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่ามีการระบาดอหิวาตกโรคในบ้านป่าโมก พระรูปหนึ่งนามว่าพระโต ได้อาพาธด้วยอหิวาตกโรค รักษายังไงก็ไม่หาย ตอนนั้น สีกาเหลียนที่เป็นหลานของพระโตได้ไปอธิษฐานต่อองค์พระนอน ทันใดนั้นก็บังเกิดเสียงตอบออกมาจากพระอุระ (อก) ของพระนอน บอกถึงตัวยาที่จะรักษาพระโตให้หาย สีกาเหลียนจึงไปเก็บใบยาตามนั้น มาปรุงยารักษาพระโต จนหาย
วัดราชปักษี(วัดนก) ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) องค์ใหญ่ มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่
และยังมีพระพุทธรูปสร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรมราว พ.ศ. 2163 เดิมประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาศาลาจะพังลงน้ำ พระและชาวบ้านได้ช่วยกันเลื่อนเข้ามาประดิษฐาน ไว้ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 ต่อมาได้ชักชวนกันสร้างพระวิหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉลองเมื่อปี พ.ศ. 2502 เพราะเหตุที่ผ่านอุปสรรคจากกิเลสมารตลอด รอดมาได้ อย่างราบรื่น จึงพร้อมใจกันถวาย พระนามนิมิตรว่า "พระรอดวชิรโมลี" เพื่อเป็นที่สักการะเคารพบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดกาล 5,000 พรรษา
วัดม่วง ตั้งอยู่ที่ ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก
ภายในวัดจะมารูปปั้นแดนนรก ซึ่งหลวงพ่อเกษม ท่านได้สร้างแดนนรก ตามพระไตรปิฎก ที่ระบุถึงเรื่อง การสร้างบุญกุศล ก็ได้รับบุญนั้น และการสร้างแต่บาป ก็ต้องได้รับบาปตามสนองนั้น
ภายในวัดนี้มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ สูง 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ ปัจจุบันนี้ วัดสี่ร้อยเป็นหนึ่งในแหล่ง ท่องเที่ยวน่าไปของจังหวัดอ่างทอง และมีการจัดงานประจำปีของวัดสี่ร้อยขึ้น โดยตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งประชาชนทั่วสารทิศจะมานมัสการหลวงพ่อใหญ่ ขอโชคลาภต่างๆนานา ใครมีทุกข์ร้อนประการใดก็มาบอกเล่าหลวงพ่อใหญ่ และมักมีการแก้บนด้วยพลุและละคร
ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตกาล พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระ ละมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตีเมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคมแก่กล้า ชำนาญการรบด้วยดาบสองมือ จนมีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “กองอาทมาต” เมื่อพระยารัตนาธิเบศร์ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้สั่งให้ขุนรองปลัดชูคุมกองอาทมาต ไปตั้งสกัดกองทัพพม่าที่อ่าวหว้าขาว เหนือที่ว่าการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน
พอกองทัพพม่ายกทัพผ่านมาขุนรองปลัดชูจึงคุมทหารเข้าโจมตีรบด้วยอาวุธสั้นถึงตะลุมบอน แม้ทหารของไทยจะน้อยกว่า แต่ก็สามารถรบกับพม่าจนล้มตายเป็นจำนวนมาก การต่อสู้ผ่านไป 1 คืน ถึงเที่ยงวันรุ่งขึ้น ก็ยังไม่สามารถเอาชนะพม่าได้ เพราะพม่ายกทัพหนุนเข้ามาช่วยอีก ด้วยกำลังที่น้อยกว่าจึงอ่อนแรง ในที่สุดก็ถูกพม่ารุกไล่โจมตีแตกพ่ายยับเยิน แต่ทหารกองอาทมาต มีวิชาอาคมแก่กล้า ฟันแทงไม่เข้า ทหารพม่าจึงไสช้างเข้าเหยียบย่ำทหารกองอาทมาตตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็ถูกไล่ลงทะเลจมน้ำตายไปในที่สุด
ขุนรองปลัดชูพร้อมด้วยทหารกองอาทมาตแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน จึงเสียชีวิตด้วยฝีมือของพม่า เมื่อชาววิเศษไชยชาญทราบข่าวก็พากันโศกเศร้าเสียใจ จึงได้แต่ภาวนาขอบุญกุศล ที่ได้สร้างสมไว้จงเป็นปัจจัยส่งผลให้ดวงวิญญาณทหารกล้าได้ไปสู่สุคติ ความเงียบเหงาวังเวงเกิดขึ้น หมดกำลัง ใจในการทำมาหากิน ไม่มีอะไรดีไปกว่าการร่วมกันสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เป็นที่ระลึกถึงผู้พลีชีพจึงได้สร้างวัดสี่ร้อยขึ้น ในปี พ.ศ.2313 โดยตั้งชื่อวัดตามจำนวนกองอาทมาต 400 คนที่เสียชีวิตไปในการรบ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลังของชาวเมืองวิเศษไชยชาญ ย้ำเตือนความทรงจำให้ระลึกถึงบรรพบุรุษ ที่พลีชีพและปกป้องแผ่นดินจนเสียชีวิต เจ้าอาวาสวัดสี่ร้อยในขณะนั้น จึงได้สร้างเจดีย์ ไว้เป็นที่รวบรวมดวงวิญญาณของ ชาวแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ที่เสียชีวิตจำนวน 400 คน
พระนอนวัดขุนอินทประมูล หรือ พระศรีเมืองทอง ประดิษฐานอยู่ ณ วัดขุนอินทประมูล ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร องค์พระยาว 1 เส้น 5 วา หรือ 50 เมตร ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ พระนอนที่วัดบางพลีใหญ่กลาง จ. สมุทรปราการ สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร ซึ่งยาว 53 เมตร ส่วนพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี ยาว 47 เมตร
จากตำนานกล่าวว่า ขุนอินทประมูล ได้ยักยอกเงินหลวงมาสร้าง ครั้งถูกสอบถามว่าเอาเงินจากใหนมาสร้างพระ ขุนอินทประมูลก็ไม่ยอมบอกความจริง จึงถูกลงโทษจนตาย คงมีความเชื่อที่ว่า ถ้าบอกแหล่งที่มาของเงินแล้ว ตนจะไม่ได้กุศลตามที่ปรารถนา
วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโยวรวิหาร หรือ วัดไชโย ตั้งอยู่ที่ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คาดว่าสร้างมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่ หรือหลวงพ่อโต ไว้กลางแจ้ง องค์เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้น แต่ในระหว่างก่อสร้างพระวิหารนั้น แรงสั่นทำให้องค์หลวงพ่อโตชำรุดเสียหาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นมาใหม่ และพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ภายในวัดไชโยวรวิหาร
วัดต้นสน ตั้งอยู่ที่ 1/1 ถนนเทศบาล 10 ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง วัดต้นสน สันนิษฐานว่าเป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณ พ.ศ. 2310 ผู้คนสมัยก่อนเล่าสืบต่อกันมาว่า ที่วัดแห่งนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก เกือบจะกลายเป็นวัดร้างและไม่มีปูชนียวัตถุใดๆ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2488 พระราชสุวรรณโมลี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอ่างทองริเริ่มการสร้างถาวรวัตถุขึ้นในพื้นที่และขยายอาณาเขตให้กว้างขวาง พระราชสุวรรณโมลี ได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นามว่า "สมเด็จพระพุทธนวโลกุตร ธัมมบดีศรีเมืองทอง" หรือ "สมเด็จพระศรีเมืองทอง"
พระพุทธรูปทองเหลืององค์ใหญ่นามว่า สมเด็จพระพุทธนวโลกุตร หรือ สมเด็จพระศรีเมืองทอง ซึ่งสร้างโดย พระราชสุวรรรโมลี แต่สร้างได้ถึงเพียงพระอุระ (อก) ขององค์พระ พระราชสุวรรณโมลีก็มรณภาพเสียก่อน พระวิสิฐคณาภรณ์ เจ้าอาวาสรูปต่อมาจึงได้ดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จ