ในวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ที่แสนสั้นสำหรับคนทำงานอย่างเราๆนี้ แทบจะไปเที่ยวไหนได้ไม่ไกลมากนัก บวกกับเงินในกระเป๋ามันช่างน้อยนิดเหลือเกิน งั้นแนะนำเลย สถานที่เที่ยวที่ใกล้ๆไปง่ายๆ ค่าใช้จ่ายไม่แพง ไปเช้าๆบ่ายแก่ๆก็กลับแล้ว นั้นก็คือ "อยุธยา" นั่นเอง
วางแผนไว้ว่าจะเที่ยวอย่างน้อยซัก 5 ที่ได้ก็ดี เพราะที่เที่ยวอยุธยา เยอะเหลือเกิน
เราออกจากบ้านเริ่มเดินทางประมาณ 6 โมงกว่าๆ เนื่องจากเราใกล้กับถนนเส้นกาญจนาภิเษกก็เลยใช้เส้นทางนี้วิ่งไปเรื่อยๆ จนถึงแยก บางประอิน อยุทธยา ก็เลี้ยวซ้ายออกมาเข้าเส้นพหลโยธิน จากนั้นก็ตรงไปเรื่อยๆ จนถึง สะพานเลี้ยวรถข้ามฝั่งไปยังเส้นเข้าอยุธยา (สะพานอยู่เลนซ้าย)
จากนั้นก็วิ่งตรงไปเรื่อยๆเลย ออกมาเช้าหน่อย อากาศดี รถมีน้อย สิบล้อก็น้อย ขับง่ายดี :D
ตลอดเส้นทางมีป้ายบอกทางไปวัดนั่นนี่เยอะมากๆ ไม่รู้จะแวะวัดไหนก่อนกันเลยทีเดียว แต่ที่เราจะไปวัดแรก ก็คือ วัดภูเขาทอง จังหวัดอยุธยา ขับมาเรื่อยๆ จนมาถึงแยกไฟแดง
ผ่านแยกไฟแดงนี้ ก็ตรงต่อไป จากนั้นก็จะผ่านสะพานข้างแยกไป ให้ชิดขวาไว้ เพื่อกลับรถ
ทางกลับรถเป็นเนิน ขับระวัดระวังหน่อย :)
หลังจากกลับรถมาก็ให้ชิดซ้ายเอาไว้ เพื่อที่จะเลี้ยวซ้ายตรงข้างสะพานข้ามแยก ขับมาซักพักถ้ามองทางด้านซ้ายจะสามารถมองเห็นยอดเจดีย์ภูเขาทองได้จากระยะไกลด้วย
เจอป้ายบอกทางก็เตรียมเลี้ยวได้เลย
ขับรถมาตามป้ายเรื่อยๆ จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามทาง หรือ ตรงมาอีกหน่อยแล้วค่อยเลี้ยวตรงทางเล็กๆ ผ่านบ้านของชาวบ้านไปก็ได้ ก็จะถึงวัดภูเขาทอง
แต่เรามาทางเล็กๆ ผ่านบ้านของชาวบ้านไป อารมณ์เหมือนหลงทางเบาๆ :D
ผ่านบ้านชาวบ้านไป ก็จะถึงวัดภูเขาทอง แต่เรามาตอนที่เขากำลังทำการซ่อมแซมบูรณะเจดีย์ภูเขาทองอยู่ จึงได้เพียงแต่ถ่ายภาพบรรยากาศรอบๆ เท่านั้น (ว๊าาา.....เสียดาย)
วัดภูเขาทองแห่งนี้ หลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดนี้กลายเป็นวัดร้างเรื่อยมา แต่พระมหาเจดีย์ก็ยังเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาที่มีคนเดินทางมากราบไหว้ ดังที่ปรากฎเป็นนิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่ ที่เดินทางมานมัสการในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดนี้มีพระมาจำพรรษาอีกครั้งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 และในปัจจุบัน บนกลางถนนของทางเข้ายังวัดแห่งนี้ ได้สร้าง อนุสาวรีย์พระนเรศวรทรงม้าศึก ไว้ด้วย
หลังจากนั้นหากตรงไปต่อ ก็จะพบ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
บริเวณนี้เรียกว่าทุ่งภูเขาทอง ในอดีตเคยเป็นสมรภูมิรบหลายครั้งหลายคราว วีรบุรุษของไทยนับไม่ถ้วนได้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อเพื่อปกป้องอธิปไตยและ ดำรงไว้ซึ่งความเป็นไท
ถึงตรงนี้ก็เวลาประมาณเกือบๆ 8.00 น. เราก็จะเดินทางต่อไปยัง วัดไชยวัฒนาราม เพราะเช้าๆ ทัวร์น่าจะยังไม่มา คนก็คงจะไม่เยอะ จะได้ถ่ายรูปสวยๆ
ซึ่งเราออกไปทางเดิม จากนั้นก็เลี้ยวซ้าย และเดินทางตามทางไปเรื่อยๆ ต่อไป
จากนั้นเราก็ใช้ GPS นำทางมาเรื่อยๆ เลี้ยวรถข้ามสะพานเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไป จากนั้นทางเลี้ยวเข้าไปวัด จะอยู่ที่หัวสะพานด้านซ้าย เมื่อเลี้ยวไปก็เดินทางตามป้ายไปเลย
เจอป้ายหน้า วัดไชยวัฒนาราม ก็เลี้ยวซ้ายเข้าไปได้เลย
วัดไชยวัฒนาราม ต้องเสียค่าเข้าชม โดยหากเป็นคนไทย ราคา 10 บาท ส่วนคนต่างชาติจะราคา 50 บาท
วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงสมัยอยุธยา
ประตูทางเข้าก่อนถึง เมรุราย (รึป่าว)
หลังจากที่เราเดินผ่านเมรุทิศเมรุราย เราจะเห็นพระพุทธรูปรายรอบเต็มระเบียงไปหมด ส่วนนี้เรียกว่า ระเบียงคด สำหรับเชื่อมต่อ ระหว่างเมรุแต่ละเมรุ มีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยรวมทั้งหมด 120 องค์ แกนในทำจากไม้ พอกปูนทีละชั้นจนได้สัดส่วนส่วนนิ้ว ใช้โลหะสำริด ดัดขึ้นรูป แต่ปัจจุบันเหลือไม่กี่รูป (ข้อมูล search จาก google มา)
เราเดินสำรวจได้สักพัก บางครั้งก็คิดว่า อยากจะเห็นวัดต่างๆ นี้ในสมัยก่อน ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ว่าจะสวยงามแค่ไหน
ประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปปูนปั้นทรงเครื่องปางมารวิชัย ที่อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนบนเป็นฝ้าเพดานไม้ประดับดาว
เสร็จจากตรงนี้แล้ว เราก็หาอะไรกินซักหน่อย 9 โมงละ (แต่เช้า กินแต่กาแฟข้างทาง ยังไม่ได้กินอะไรเลย) ก็แวะหาอะไรกินง่ายๆละกัน ก๋วยเตี๋ยวเรือตรงข้ามวัดนี่แหละ
อิ่มท้องละ เดินทางต่อ ขับรถข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากลับมาทางเดิม (กลับรถเลยไม่ได้ ต้องขับลอดใต้สะพานแล้วค่อยวนกลับขึ้นสะพาน) เดินทางต่อไปยัง พระมงคลบพิตรและวัดพระศรีสรรเพชญ ที่อยู่ติดกัน
ขับรถตาม GPS มาเรื่อยๆ ตลอดทางมีวัดมากมาย เลือกไม่ถูกเลยว่าจะแวะไหนก่อนมั๊ย สรุป ก็เลยแวะที่วัดธรรมิกราช
วัดธรรมิกราช ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่
พระวิหารพระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน) นั้น พระราชมเหสีของพระองค์มีพระราชธิดาประชวร ทรงอธิษฐานไว้เมื่อพระราชธิดาหายแล้วจึงสร้างพระวิหารถวาย น้ำพระพุทธมนต์ในพระวิหารนี้กล่าวกันว่ามี ความศักดิ์สิทธิ์มากมีประชาชนมาอธิษฐาน ขอไปใช้ตามความปรารถนาจำนวนมาก
ระหว่างทางเดิน มีการจัดซุ้มทางเข้าเป็นโค้งดอกไม้ ไว้ให้ถ่ายรูปสวยๆด้วย
เดินมาหน่อย จะมีที่รูปปั้นสมเด็จพระนเรศวร ผู้คนนิยมนำไก่มากราบไหว้บูชา
พระเจดีย์องค์ใหญ่ สิงห์ล้อม 52 ตัว
พระวิหารหลวง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีมุขยืนออกมาที่ทางด้านหน้าและด้านหลังของอาคาร ผนังวิหารเจาะหน้าต่างเป็นซี่ลูกกรงซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิผลจากศิลปะเขมร เนื่องจากอยู่ติดกับพระราชวังหลวง พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงเสด็จมาฟังพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะที่วิหารแห่งนี้เป็นประจำ ดังนั้นวิหารแห่งนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิหารทรงธรรม
เศียรพระพุทธรูปหล่อสำฤทธิ์เป็นศิลปะสมัยอู่ทอง เดิมอยู่ในวิหารหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์มาก กล่าวว่าผู้ใดเป็นคดีความกันมาสาบานต่อหน้าพระพักตร์คนผิดต้องตายหรือมีอันเป็นไปทุกคนเป็นที่กล่าวขานกันมาก สมัยที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังจันทรเกษม ได้นำเศียรพระพุทธรูปนี้ไป ต่อมากรมศิลปากรจึงนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ความศักดิ์สิทธิ์จึงคลายไป
องค์พระประธานภายในวิหาร
จากนั้นเราก็เดินทางไปยังวัดมงคลบพิตร และ วัดพระศรีสรรเพชญ บริเวณด้านหน้าวัด (หรือด้านหลังก็ไม่รู้) จะมีตลาดขายของกิน ของฝาก ของที่ระลึก สามารถหาซื้อได้บริเวณนี้เลย
ถัดมาจากตลาด ก็จะเป็นวัดมงคลบพิตร แต่กำลังบูรณะอยู่ เข้าไม่ได้ (อีกแล้ว เสียดาย)
ส่วนภาพนี้เป็นวัดมงคลบพิตรในสมัยเก่า ก่อนการบูรณะซ่อมแซม (เจอภาพใน google ไม่รู้เครดิตใคร)
จากนั้นก็เดินเลยไปหน่อยก็เจอ วัดพระศรีสรรเพชญ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ต่างชาติ 50 บาท เหมือนเดิม
วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดหลวงในพระราชวังโบราณ อยุธยา ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นต้นแบบของ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
ใน th.wikipedia เล่าว่า ในปีต่อมา พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา (ประมาณ 16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพน และ บรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ เจดีย์องค์ที่ 3 ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็น เจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4(พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา
มีคนเคยเล่าว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปยืนสูงประมาณ 16 เมตร ใหญ่มาก และใช้ทองคำหุ้มแผลงไว้ ในสมัยนั้น การเผาลอกทองที่หุ้มแผลงไว้ออกมา คือจะสุมไฟบริเวณข้อพระบาทของพระพุทธรูปให้ทองละลายลงมาเรื่อยๆ และเพราะองค์พระมีขนาดใหญ่มาก ส่วนข้อพระบาททนความร้อนเป็นเวลานานไม่ไหว องค์พระจึงถล่มลงมา
คิดภาพในสมัยนั้น ที่ข้าศึกบุกโจมตี ฆ่าฟัน เผาบ้านเผาเมือง มาวัดนี้ รู้สึกหดหู่กว่าวัดไชยวัฒนารามซะอีก
จากนั้นเราก็เดินผ่านมาทางวิหารแกลบ ในป้ายบอกไว้ว่า อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของวัดชีเชียงซึ่งพระราชพงศวดารกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.2061 มีการสร้างวัดชีเชียงในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช และในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมได้อัญเชิญ พระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูป "พระมงคลบพิตร" ซึ่งเป็นวัดชีเชียง ย้ายไปประดิษฐานบนพื้นที่ถัดมาทางทิศตะวันตกและสร้างมณฑปครอบ อีก 3 ปีต่อมา พระองค์โปรดเกล้าให้ปรับพื้นที่ พระวิหารแกลบ เพื่อใช้เป็นที่ ถวายพระเพลิง
ถึงตอนนี้ก็ประมาณ 11.30 น. ก็เลยจะเดินกลับรถ เพื่อไปหาอะไรกินดีกว่า แต่เดินมาซะไกลเลย ก็เลยเดินออกไปทางถนน เพื่อเดินอ้อมกลับไปทางด้านหน้า เพื่อดูสถานที่รอบๆด้วย
ผ่านวัดพระรามไปแบบเบาๆ (ไม่ได้เข้าไป)
เดินไปอีกซักพัก เลี้ยวไปทางขวาหน่อย เจอคุ้มขุนแผน
สร้างขึ้นเพื่ออนุรักษ์บ้านของขุนนางในสมัยก่อนไว้ให้ชนรุ่นหลังได้มาศึกษาสถาปัตยกรรมแบบโบราณ เดิมเรือนแห่งนี้เป็นจวนสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า
เดินไปซักพักผ่าน วังช้าง ไปอีกแบบเบาๆ (ไม่ได้เข้าไปเหมือนกัน)
กลับมาถึงตลาด ก็หาอะไรกินให้อิ่ม เสร็จก็ประมาณเที่ยงกว่าๆ เตรียมตัวเดินทางต่อในวันนี้อีกที
เดินทางตามป้ายต่อไป เพื่อจะไป วัดใหญ่ชัยมงคล ในบ่ายนี้ ระหว่างขับรถ เหมือนจะหลงทาง :D ไปโผล่วัดอะไรซักอย่าง เลยเดินลงไปถามลุงที่ขายดอกบัวอยู่หน้าวัด จึงรู้ว่าเป็น วัดวรเชษฐาราม
ภายในกำแพงวัดประกอบไปด้วย เจดีย์ประธานทรงลังกาแบบสุโขทัย พระวิหารจำนวน 3 หลัง พระอุโบสถ และพระเจดีย์ย่อมุมขนาดเล็ก 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เชื่อกันว่าน่าจะมีการบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ภายในเจดีย์องค์ใดองค์หนึ่งภายในวัดนี้
ตามพระราชพงศวดารสมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้าง เมื่อประมาณ พ.ศ.2136 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเชษฐาของสมเด็จพระเอกาทศรถได้ยกทัพไปตีเมืองตองอู และขณะเคลื่อนทัพถึงเมืองหาง ทรงพระประชวรหนักและเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถจึงโปรดให้อัญเชิญพระศพมายังกรุงศรีอยุธยา และให้แต่งตั้งพระเมรุสูงเส้น 17 วา แล้วเสด็จไปถวายพระเพลิงศพ ให้นิมนต์พระสงฆ์มาร่วมในพิธีจำนวน 10,000 องค์ เข้าใจว่าได้ถวายพระเพลิงพระศพ ณ วัดวรเชษฐารามแห่งนี้
วัดนี้เงียบดี ไม่ค่อยมีคนเลย หรือมาตอนไม่มีใครรึป่าวก็ไม่รู้
ฝั่งตรงข้ามจะเป็น วัดวรโพธิ์
ภายในวัดประกอบด้วย ปรางค์ประธาน มีระเบียงคตล้อมรอบ ปัจจุบันเหลือให้เห็นเฉพาะฐานเท่านั้น ด้านทิศเหนือของปรางค์ประธานยังคงปรากฏซากของอาคาร วิหารและเจดีย์เหลี่ยม ส่วนทางทิศใต้มีพระวิหารสำหรับประดิษฐานรอยพระพุทธบาทตั้งอยู่ อาคารโบราณสถานของวัดทั้งหมด
จากนั้นขับรถต่อมาซักหน่อยประมาณ 300 - 400 เมตร ก็จะเจอวัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน
ถึงตอนนนี้ก็ประมาณ บ่ายโมงกว่าๆ จากที่หลงแล้ว ควรเปิด GPS เถอะครับท่าน!!
ตาม GPS มา และแล้วก็ถึงซะที วัดใหญ่ชัยมงคล
จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด
บ่ายๆมานี่ คนเริ่มเยอะ
เริ่มต้นเราก็ไปไหว้พระประทานก่อน
จากนั้นก็ขึ้นไปด้านบนขององค์เจดีย์
ขึ้นมาด้านบน เราสามารถสองเห็นวิวทิวทัศน์ รอบๆวัดได้อย่างชัดเจน
ข้างในองค์เจดีย์ใหญ่ ไม่สามารถเข้าไปได้เลย คนเยอะมากวันนี้ เสียดายมาก เลยต้องลงมาถ่ายบริเวณรอบๆเจดีย์แทน
หลังจากเสร็จจากตรงนี้แล้วก็ประมาณเกือบๆบ่าย 3 โมง ก็ได้เวลาเดินทางกลับ ยังเหลือที่เที่ยวในอยุธยาอีกเยอะเลย จริงๆแล้วถ้าจะเที่ยวให้ครบทั้งหมด ก็คงใช้เวลาเยอะเหมือน เอาเป็นว่า เรามีเวลาแค่นี้ ก็เที่ยวประมาณนี้ก็แล้วกันนะ :D
ในวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ที่แสนสั้นสำหรับคนทำงานอย่างเราๆนี้ แทบจะไปเที่ยวไหนได้ไม่ไกลมากนัก บวกกับเงินในกระเป๋ามันช่างน้อยนิดเหลือเกิน งั้นแนะนำเลย สถานที่เที่ยวที่ใกล้ๆไปง่ายๆ ค่าใช้จ่ายไม่แพง ไปเช้าๆบ่ายแก่ๆก็กลับแล้ว นั้นก็คือ "อยุธยา" นั่นเอง
วางแผนไว้ว่าจะเที่ยวอย่างน้อยซัก 5 ที่ได้ก็ดี เพราะที่เที่ยวอยุธยา เยอะเหลือเกิน
เราออกจากบ้านเริ่มเดินทางประมาณ 6 โมงกว่าๆ เนื่องจากเราใกล้กับถนนเส้นกาญจนาภิเษกก็เลยใช้เส้นทางนี้วิ่งไปเรื่อยๆ จนถึงแยก บางประอิน อยุทธยา ก็เลี้ยวซ้ายออกมาเข้าเส้นพหลโยธิน จากนั้นก็ตรงไปเรื่อยๆ จนถึง สะพานเลี้ยวรถข้ามฝั่งไปยังเส้นเข้าอยุธยา (สะพานอยู่เลนซ้าย)
จากนั้นก็วิ่งตรงไปเรื่อยๆเลย ออกมาเช้าหน่อย อากาศดี รถมีน้อย สิบล้อก็น้อย ขับง่ายดี :D
ตลอดเส้นทางมีป้ายบอกทางไปวัดนั่นนี่เยอะมากๆ ไม่รู้จะแวะวัดไหนก่อนกันเลยทีเดียว แต่ที่เราจะไปวัดแรก ก็คือ วัดภูเขาทอง จังหวัดอยุธยา ขับมาเรื่อยๆ จนมาถึงแยกไฟแดง
ผ่านแยกไฟแดงนี้ ก็ตรงต่อไป จากนั้นก็จะผ่านสะพานข้างแยกไป ให้ชิดขวาไว้ เพื่อกลับรถ
ทางกลับรถเป็นเนิน ขับระวัดระวังหน่อย :)
หลังจากกลับรถมาก็ให้ชิดซ้ายเอาไว้ เพื่อที่จะเลี้ยวซ้ายตรงข้างสะพานข้ามแยก ขับมาซักพักถ้ามองทางด้านซ้ายจะสามารถมองเห็นยอดเจดีย์ภูเขาทองได้จากระยะไกลด้วย
เจอป้ายบอกทางก็เตรียมเลี้ยวได้เลย
ขับรถมาตามป้ายเรื่อยๆ จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามทาง หรือ ตรงมาอีกหน่อยแล้วค่อยเลี้ยวตรงทางเล็กๆ ผ่านบ้านของชาวบ้านไปก็ได้ ก็จะถึงวัดภูเขาทอง
แต่เรามาทางเล็กๆ ผ่านบ้านของชาวบ้านไป อารมณ์เหมือนหลงทางเบาๆ :D
ผ่านบ้านชาวบ้านไป ก็จะถึงวัดภูเขาทอง แต่เรามาตอนที่เขากำลังทำการซ่อมแซมบูรณะเจดีย์ภูเขาทองอยู่ จึงได้เพียงแต่ถ่ายภาพบรรยากาศรอบๆ เท่านั้น (ว๊าาา.....เสียดาย)
วัดภูเขาทองแห่งนี้ หลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดนี้กลายเป็นวัดร้างเรื่อยมา แต่พระมหาเจดีย์ก็ยังเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาที่มีคนเดินทางมากราบไหว้ ดังที่ปรากฎเป็นนิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่ ที่เดินทางมานมัสการในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดนี้มีพระมาจำพรรษาอีกครั้งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 และในปัจจุบัน บนกลางถนนของทางเข้ายังวัดแห่งนี้ ได้สร้าง อนุสาวรีย์พระนเรศวรทรงม้าศึก ไว้ด้วย
หลังจากนั้นหากตรงไปต่อ ก็จะพบ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
บริเวณนี้เรียกว่าทุ่งภูเขาทอง ในอดีตเคยเป็นสมรภูมิรบหลายครั้งหลายคราว วีรบุรุษของไทยนับไม่ถ้วนได้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อเพื่อปกป้องอธิปไตยและ ดำรงไว้ซึ่งความเป็นไท
ถึงตรงนี้ก็เวลาประมาณเกือบๆ 8.00 น. เราก็จะเดินทางต่อไปยัง วัดไชยวัฒนาราม เพราะเช้าๆ ทัวร์น่าจะยังไม่มา คนก็คงจะไม่เยอะ จะได้ถ่ายรูปสวยๆ
ซึ่งเราออกไปทางเดิม จากนั้นก็เลี้ยวซ้าย และเดินทางตามทางไปเรื่อยๆ ต่อไป
จากนั้นเราก็ใช้ GPS นำทางมาเรื่อยๆ เลี้ยวรถข้ามสะพานเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไป จากนั้นทางเลี้ยวเข้าไปวัด จะอยู่ที่หัวสะพานด้านซ้าย เมื่อเลี้ยวไปก็เดินทางตามป้ายไปเลย
เจอป้ายหน้า วัดไชยวัฒนาราม ก็เลี้ยวซ้ายเข้าไปได้เลย
วัดไชยวัฒนาราม ต้องเสียค่าเข้าชม โดยหากเป็นคนไทย ราคา 10 บาท ส่วนคนต่างชาติจะราคา 50 บาท
วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงสมัยอยุธยา
ประตูทางเข้าก่อนถึง เมรุราย (รึป่าว)
หลังจากที่เราเดินผ่านเมรุทิศเมรุราย เราจะเห็นพระพุทธรูปรายรอบเต็มระเบียงไปหมด ส่วนนี้เรียกว่า ระเบียงคด สำหรับเชื่อมต่อ ระหว่างเมรุแต่ละเมรุ มีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยรวมทั้งหมด 120 องค์ แกนในทำจากไม้ พอกปูนทีละชั้นจนได้สัดส่วนส่วนนิ้ว ใช้โลหะสำริด ดัดขึ้นรูป แต่ปัจจุบันเหลือไม่กี่รูป (ข้อมูล search จาก google มา)
เราเดินสำรวจได้สักพัก บางครั้งก็คิดว่า อยากจะเห็นวัดต่างๆ นี้ในสมัยก่อน ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ว่าจะสวยงามแค่ไหน
ประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปปูนปั้นทรงเครื่องปางมารวิชัย ที่อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนบนเป็นฝ้าเพดานไม้ประดับดาว
เสร็จจากตรงนี้แล้ว เราก็หาอะไรกินซักหน่อย 9 โมงละ (แต่เช้า กินแต่กาแฟข้างทาง ยังไม่ได้กินอะไรเลย) ก็แวะหาอะไรกินง่ายๆละกัน ก๋วยเตี๋ยวเรือตรงข้ามวัดนี่แหละ
อิ่มท้องละ เดินทางต่อ ขับรถข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากลับมาทางเดิม (กลับรถเลยไม่ได้ ต้องขับลอดใต้สะพานแล้วค่อยวนกลับขึ้นสะพาน) เดินทางต่อไปยัง พระมงคลบพิตรและวัดพระศรีสรรเพชญ ที่อยู่ติดกัน
ขับรถตาม GPS มาเรื่อยๆ ตลอดทางมีวัดมากมาย เลือกไม่ถูกเลยว่าจะแวะไหนก่อนมั๊ย สรุป ก็เลยแวะที่วัดธรรมิกราช
วัดธรรมิกราช ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่
พระวิหารพระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน) นั้น พระราชมเหสีของพระองค์มีพระราชธิดาประชวร ทรงอธิษฐานไว้เมื่อพระราชธิดาหายแล้วจึงสร้างพระวิหารถวาย น้ำพระพุทธมนต์ในพระวิหารนี้กล่าวกันว่ามี ความศักดิ์สิทธิ์มากมีประชาชนมาอธิษฐาน ขอไปใช้ตามความปรารถนาจำนวนมาก
ระหว่างทางเดิน มีการจัดซุ้มทางเข้าเป็นโค้งดอกไม้ ไว้ให้ถ่ายรูปสวยๆด้วย
เดินมาหน่อย จะมีที่รูปปั้นสมเด็จพระนเรศวร ผู้คนนิยมนำไก่มากราบไหว้บูชา
พระเจดีย์องค์ใหญ่ สิงห์ล้อม 52 ตัว
พระวิหารหลวง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีมุขยืนออกมาที่ทางด้านหน้าและด้านหลังของอาคาร ผนังวิหารเจาะหน้าต่างเป็นซี่ลูกกรงซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิผลจากศิลปะเขมร เนื่องจากอยู่ติดกับพระราชวังหลวง พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงเสด็จมาฟังพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะที่วิหารแห่งนี้เป็นประจำ ดังนั้นวิหารแห่งนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิหารทรงธรรม
เศียรพระพุทธรูปหล่อสำฤทธิ์เป็นศิลปะสมัยอู่ทอง เดิมอยู่ในวิหารหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์มาก กล่าวว่าผู้ใดเป็นคดีความกันมาสาบานต่อหน้าพระพักตร์คนผิดต้องตายหรือมีอันเป็นไปทุกคนเป็นที่กล่าวขานกันมาก สมัยที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังจันทรเกษม ได้นำเศียรพระพุทธรูปนี้ไป ต่อมากรมศิลปากรจึงนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ความศักดิ์สิทธิ์จึงคลายไป
องค์พระประธานภายในวิหาร
จากนั้นเราก็เดินทางไปยังวัดมงคลบพิตร และ วัดพระศรีสรรเพชญ บริเวณด้านหน้าวัด (หรือด้านหลังก็ไม่รู้) จะมีตลาดขายของกิน ของฝาก ของที่ระลึก สามารถหาซื้อได้บริเวณนี้เลย
ถัดมาจากตลาด ก็จะเป็นวัดมงคลบพิตร แต่กำลังบูรณะอยู่ เข้าไม่ได้ (อีกแล้ว เสียดาย)
ส่วนภาพนี้เป็นวัดมงคลบพิตรในสมัยเก่า ก่อนการบูรณะซ่อมแซม (เจอภาพใน google ไม่รู้เครดิตใคร)
จากนั้นก็เดินเลยไปหน่อยก็เจอ วัดพระศรีสรรเพชญ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ต่างชาติ 50 บาท เหมือนเดิม
วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดหลวงในพระราชวังโบราณ อยุธยา ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นต้นแบบของ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
ใน th.wikipedia เล่าว่า ในปีต่อมา พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา (ประมาณ 16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพน และ บรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ เจดีย์องค์ที่ 3 ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็น เจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4(พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา
มีคนเคยเล่าว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปยืนสูงประมาณ 16 เมตร ใหญ่มาก และใช้ทองคำหุ้มแผลงไว้ ในสมัยนั้น การเผาลอกทองที่หุ้มแผลงไว้ออกมา คือจะสุมไฟบริเวณข้อพระบาทของพระพุทธรูปให้ทองละลายลงมาเรื่อยๆ และเพราะองค์พระมีขนาดใหญ่มาก ส่วนข้อพระบาททนความร้อนเป็นเวลานานไม่ไหว องค์พระจึงถล่มลงมา
คิดภาพในสมัยนั้น ที่ข้าศึกบุกโจมตี ฆ่าฟัน เผาบ้านเผาเมือง มาวัดนี้ รู้สึกหดหู่กว่าวัดไชยวัฒนารามซะอีก
จากนั้นเราก็เดินผ่านมาทางวิหารแกลบ ในป้ายบอกไว้ว่า อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของวัดชีเชียงซึ่งพระราชพงศวดารกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.2061 มีการสร้างวัดชีเชียงในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช และในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมได้อัญเชิญ พระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูป "พระมงคลบพิตร" ซึ่งเป็นวัดชีเชียง ย้ายไปประดิษฐานบนพื้นที่ถัดมาทางทิศตะวันตกและสร้างมณฑปครอบ อีก 3 ปีต่อมา พระองค์โปรดเกล้าให้ปรับพื้นที่ พระวิหารแกลบ เพื่อใช้เป็นที่ ถวายพระเพลิง
ถึงตอนนี้ก็ประมาณ 11.30 น. ก็เลยจะเดินกลับรถ เพื่อไปหาอะไรกินดีกว่า แต่เดินมาซะไกลเลย ก็เลยเดินออกไปทางถนน เพื่อเดินอ้อมกลับไปทางด้านหน้า เพื่อดูสถานที่รอบๆด้วย
ผ่านวัดพระรามไปแบบเบาๆ (ไม่ได้เข้าไป)
เดินไปอีกซักพัก เลี้ยวไปทางขวาหน่อย เจอคุ้มขุนแผน
สร้างขึ้นเพื่ออนุรักษ์บ้านของขุนนางในสมัยก่อนไว้ให้ชนรุ่นหลังได้มาศึกษาสถาปัตยกรรมแบบโบราณ เดิมเรือนแห่งนี้เป็นจวนสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า
เดินไปซักพักผ่าน วังช้าง ไปอีกแบบเบาๆ (ไม่ได้เข้าไปเหมือนกัน)
กลับมาถึงตลาด ก็หาอะไรกินให้อิ่ม เสร็จก็ประมาณเที่ยงกว่าๆ เตรียมตัวเดินทางต่อในวันนี้อีกที
เดินทางตามป้ายต่อไป เพื่อจะไป วัดใหญ่ชัยมงคล ในบ่ายนี้ ระหว่างขับรถ เหมือนจะหลงทาง :D ไปโผล่วัดอะไรซักอย่าง เลยเดินลงไปถามลุงที่ขายดอกบัวอยู่หน้าวัด จึงรู้ว่าเป็น วัดวรเชษฐาราม
ภายในกำแพงวัดประกอบไปด้วย เจดีย์ประธานทรงลังกาแบบสุโขทัย พระวิหารจำนวน 3 หลัง พระอุโบสถ และพระเจดีย์ย่อมุมขนาดเล็ก 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เชื่อกันว่าน่าจะมีการบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ภายในเจดีย์องค์ใดองค์หนึ่งภายในวัดนี้
ตามพระราชพงศวดารสมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้าง เมื่อประมาณ พ.ศ.2136 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเชษฐาของสมเด็จพระเอกาทศรถได้ยกทัพไปตีเมืองตองอู และขณะเคลื่อนทัพถึงเมืองหาง ทรงพระประชวรหนักและเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถจึงโปรดให้อัญเชิญพระศพมายังกรุงศรีอยุธยา และให้แต่งตั้งพระเมรุสูงเส้น 17 วา แล้วเสด็จไปถวายพระเพลิงศพ ให้นิมนต์พระสงฆ์มาร่วมในพิธีจำนวน 10,000 องค์ เข้าใจว่าได้ถวายพระเพลิงพระศพ ณ วัดวรเชษฐารามแห่งนี้
วัดนี้เงียบดี ไม่ค่อยมีคนเลย หรือมาตอนไม่มีใครรึป่าวก็ไม่รู้
ฝั่งตรงข้ามจะเป็น วัดวรโพธิ์
ภายในวัดประกอบด้วย ปรางค์ประธาน มีระเบียงคตล้อมรอบ ปัจจุบันเหลือให้เห็นเฉพาะฐานเท่านั้น ด้านทิศเหนือของปรางค์ประธานยังคงปรากฏซากของอาคาร วิหารและเจดีย์เหลี่ยม ส่วนทางทิศใต้มีพระวิหารสำหรับประดิษฐานรอยพระพุทธบาทตั้งอยู่ อาคารโบราณสถานของวัดทั้งหมด
จากนั้นขับรถต่อมาซักหน่อยประมาณ 300 - 400 เมตร ก็จะเจอวัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน
ถึงตอนนนี้ก็ประมาณ บ่ายโมงกว่าๆ จากที่หลงแล้ว ควรเปิด GPS เถอะครับท่าน!!
ตาม GPS มา และแล้วก็ถึงซะที วัดใหญ่ชัยมงคล
จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด
บ่ายๆมานี่ คนเริ่มเยอะ
เริ่มต้นเราก็ไปไหว้พระประทานก่อน
จากนั้นก็ขึ้นไปด้านบนขององค์เจดีย์
ขึ้นมาด้านบน เราสามารถสองเห็นวิวทิวทัศน์ รอบๆวัดได้อย่างชัดเจน
ข้างในองค์เจดีย์ใหญ่ ไม่สามารถเข้าไปได้เลย คนเยอะมากวันนี้ เสียดายมาก เลยต้องลงมาถ่ายบริเวณรอบๆเจดีย์แทน
หลังจากเสร็จจากตรงนี้แล้วก็ประมาณเกือบๆบ่าย 3 โมง ก็ได้เวลาเดินทางกลับ ยังเหลือที่เที่ยวในอยุธยาอีกเยอะเลย จริงๆแล้วถ้าจะเที่ยวให้ครบทั้งหมด ก็คงใช้เวลาเยอะเหมือน เอาเป็นว่า เรามีเวลาแค่นี้ ก็เที่ยวประมาณนี้ก็แล้วกันนะ :D