ในประเทศไทยนั้น มีพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) อยู่เป็นจำนวนมาก เราขอแนะนำ 8 พระนอนองค์ใหญ่ ทำบุญ เสริมมงคล
ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) องค์ใหญ่ มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่
เป็นวัดที่มีศิลปวัฒนธรรมไทยรามัญ (มอญ) และพม่าอยู่เป็นจำนวนมาก ในวัดจะมีศาลาการเปรียญอยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นโบสถ์ เจดีย์ และที่ด้านหลังเป็นพระนอน ที่ด้านนอกบริเวณฝั่งตรงข้ามของถนนอีกฟากจะมีศาลาซึ่งมีพระพุทธรูปปางต่างๆ
จากประวัติศาสตร์ความเป็นมา ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของปรางค์ประธานภายในวัดที่คล้ายคลึงกับพระปรางค์ วัดราชบูรณะ พระปรางค์วัดมหาธาตุ และพระปรางค์วัดส้ม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น วัดแห่งนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้นเช่นเดียวกัน
วัดบางพลีใหญ่กลาง ตั้งอยู่บริเวณคลองสำโรงฝั่งเหนือ ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากวัดบางพลีใหญ่เล็กน้อย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 ชาวบ้านละแวกบางพลี เรียกว่า วัดกลาง อาจเป็นเพราะตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างวัดบางพลีใหญ่ในกับวัดคงคาราม (วัดยายหนู) ซึ่งเป็นวัดร้างไปแล้ว เดิมที่ตั้งวัดเป็นที่ดินของนายช้างหมื่นราษฎร์ โดยนาย น้อย หมื่นราษฎร์ พี่ชายเป็นผู้สร้างขึ้นและได้ขนานนามวัดว่า "วัดน้อยปทุมคงคา" เพราะได้ขุดสระปลูกบัวหลวงไว้ด้วย ต่อมาเปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า "วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม" และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็น "วัดบางพลีใหญ่กลาง"
วัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอ เดิมมีวัด 2 วัด อยู่ติดกัน คือ วัดตลาดกับวัดชีปะขาว วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความเป็นมา น่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่า ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎร บวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ และเป็น 1 ใน 7 วัด พระใหญ่ในที่อ่างทอง
พระนอนวัดขุนอินทประมูล หรือ พระศรีเมืองทอง ประดิษฐานอยู่ ณ วัดขุนอินทประมูล อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร องค์พระยาว 1 เส้น 5 วา หรือ 50 เมตร ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ พระนอนที่วัดบางพลีใหญ่กลาง จ. สมุทรปราการ สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร ซึ่งยาว 53 เมตร ส่วนพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี ยาว 47 เมตร
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหนือมังกะยอชวา พระมหาอุปราชของหงสาวดี และวิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก
วัดธรรมิกราช เดิมชื่อ วัดมุขราช ตั้งอยู่ใน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่ ในสมัยสมเด็จพระไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. 2153) ทรงบูรณะวัด และสร้างพระวิหารหลวง เพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) สำหรับพระวิหารพระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน) นั้น พระราชมเหสีของพระองค์มีพระราชธิดาประชวร ทรงอธิษฐานไว้เมื่อพระราชธิดาหายแล้วจึงสร้างพระวิหารถวาย น้ำพระพุทธมนต์ในพระวิหารนี้กล่าวกันว่ามี ความศักดิ์สิทธิ์มากมีประชาชนมาอธิษฐาน ขอไปใช้ตามความปรารถนาจำนวนมาก
ในประเทศไทยนั้น มีพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) อยู่เป็นจำนวนมาก เราขอแนะนำ 8 พระนอนองค์ใหญ่ ทำบุญ เสริมมงคล
ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) องค์ใหญ่ มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่
เป็นวัดที่มีศิลปวัฒนธรรมไทยรามัญ (มอญ) และพม่าอยู่เป็นจำนวนมาก ในวัดจะมีศาลาการเปรียญอยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นโบสถ์ เจดีย์ และที่ด้านหลังเป็นพระนอน ที่ด้านนอกบริเวณฝั่งตรงข้ามของถนนอีกฟากจะมีศาลาซึ่งมีพระพุทธรูปปางต่างๆ
จากประวัติศาสตร์ความเป็นมา ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของปรางค์ประธานภายในวัดที่คล้ายคลึงกับพระปรางค์ วัดราชบูรณะ พระปรางค์วัดมหาธาตุ และพระปรางค์วัดส้ม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น วัดแห่งนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้นเช่นเดียวกัน
วัดบางพลีใหญ่กลาง ตั้งอยู่บริเวณคลองสำโรงฝั่งเหนือ ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากวัดบางพลีใหญ่เล็กน้อย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 ชาวบ้านละแวกบางพลี เรียกว่า วัดกลาง อาจเป็นเพราะตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างวัดบางพลีใหญ่ในกับวัดคงคาราม (วัดยายหนู) ซึ่งเป็นวัดร้างไปแล้ว เดิมที่ตั้งวัดเป็นที่ดินของนายช้างหมื่นราษฎร์ โดยนาย น้อย หมื่นราษฎร์ พี่ชายเป็นผู้สร้างขึ้นและได้ขนานนามวัดว่า "วัดน้อยปทุมคงคา" เพราะได้ขุดสระปลูกบัวหลวงไว้ด้วย ต่อมาเปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า "วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม" และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็น "วัดบางพลีใหญ่กลาง"
วัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอ เดิมมีวัด 2 วัด อยู่ติดกัน คือ วัดตลาดกับวัดชีปะขาว วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความเป็นมา น่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่า ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎร บวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ และเป็น 1 ใน 7 วัด พระใหญ่ในที่อ่างทอง
พระนอนวัดขุนอินทประมูล หรือ พระศรีเมืองทอง ประดิษฐานอยู่ ณ วัดขุนอินทประมูล อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร องค์พระยาว 1 เส้น 5 วา หรือ 50 เมตร ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ พระนอนที่วัดบางพลีใหญ่กลาง จ. สมุทรปราการ สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร ซึ่งยาว 53 เมตร ส่วนพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี ยาว 47 เมตร
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหนือมังกะยอชวา พระมหาอุปราชของหงสาวดี และวิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก
วัดธรรมิกราช เดิมชื่อ วัดมุขราช ตั้งอยู่ใน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่ ในสมัยสมเด็จพระไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. 2153) ทรงบูรณะวัด และสร้างพระวิหารหลวง เพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) สำหรับพระวิหารพระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน) นั้น พระราชมเหสีของพระองค์มีพระราชธิดาประชวร ทรงอธิษฐานไว้เมื่อพระราชธิดาหายแล้วจึงสร้างพระวิหารถวาย น้ำพระพุทธมนต์ในพระวิหารนี้กล่าวกันว่ามี ความศักดิ์สิทธิ์มากมีประชาชนมาอธิษฐาน ขอไปใช้ตามความปรารถนาจำนวนมาก