ประเพณีรับบัว
เป็นประเพณีเก่าแก่สืบทอดกันมาแต่โบราณของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในอดีต มีชาวบ้าน ที่เป็นชาวไทย ชาวลาว และชาวรามัญ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ ประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ต่อมาได้ช่วยกันพัฒนา พื้นที่รกร้าง ลำคลองอซึ่งเต็มไปด้วย ต้นอ้อ กอแขม และ วัชพืชต่างๆ มากมาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม ส่วนทางทิศใต้นั้นมีป่าล้อมรอบ น้ำมีสภาพเป็นน้ำเค็ม และทางทิศเหนือมีบึงใหญ่ที่มีบัวงอกงามอย่างหนาแน่นทั่วทั้งบริเวณ
ดังนั้นชาวไทย ชาวลาวและชาวรามัญ จึงได้ร่วมกันพัฒนาผืนดินแห่งนี้เรื่อยมา จนมาบรรจบกันที่ทางสามแยก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วย ปากน้ำลำคลอง 3 สาย ได้แก่ คลองสลุด คลองชวดลากข้าว และคลอดลาดกระบัง
ต่อมา ชาวรามัญที่แยกไปประกอบอาชีพ ณ คลองลาดกระบัง เริ่มมีรายได้และผลผลิตตกต่ำ เนื่องมาจากปัญหาศัตรูพืช นกหนูชุกชุม เข้ามาทำลายพืชผลเกตรกรรม จึงอพยพกลับสู่ถิ่นฐานเดิม คือฝั่งบ้านปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีกำหนดการเดินทางในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 พร้อมกับเก็บดอกบัวหลวงบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมบูชา พระคาถาพัน และได้บอกกับชาวไทยที่สนิทสนมว่า เมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ในปีต่อๆไป ขอให้คนไทยทั้งหลาย ช่วยกันเก็บดอกบัวหลวงไปไว้ ณ วัด หลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) สำหรับมอบให้พวกตนชาวรามัญ เพื่อนำไปเป็นพุทธบูชาในวันออกพรรษาต่อไป และด้วยน้ำใจที่คนไทยมีต่อชาวรามัญ จึงมีความยินดีที่จะทำตามที่ชาวรามัญได้ขอเอาไว้ หลังจากชาวรามัญได้พากันกราบนมัสการหลวงพ่อโต และอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ติดตัวไปด้วย แล้วจึงลากลับบ้านปากลัด เพื่อนำดอกบัวไปบูชาพระพันคาถา ที่ปากลัดต่อไป
ดังนั้น ในปีต่อๆมา เมื่อครบกำหนดวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวไทยจะเก็บดอกบัวมาไว้ที่วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) ตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับชาวรามัญ ซึ่งชาวรามัญจะเดินทางมารับดอกบัวเหล่านั้นในเวลา 3.00 - 5.00 น. และคนไทยก็ได้จัดเตรียมขนมคาวหวานนานาชนิดไว้สำหรับต้อนรับ เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้ว ชาวรามัญจะนำดอกบัวเข้าไปนมัสการหลวงพ่อโตในวิหารวัด และอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์กลับบ้านด้วย เพื่อเป็นสิริมงคล และนำดอกบัวอีกจำนวนหนึ่ง กลับไปบูชาพระคาถาพันอีกด้วย และประเพณีอันดีงานนี้ได้สืบทอดกันมาจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้
วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลอง ลงเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลอง ได้ร่วมสักการบูชาโดยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ มีความเชื่อกันว่า หากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดังหวัง
08 ตุลาคม 2562 เวลา 10.30 น. - พิธีเปิดประเพณีรับบัว (ราชาแห่งฤกษ์)
10 ตุลาคม 2562 เวลา 08.00 น. - ขบวนแห่หลวงพ่อโตทางรถ
11 ตุลาคม 2562 เวลา 06.00 น. - ตักบาตรทางเรือ
เวลา 08.00 น. - ขบวนแห่หลวงพ่อโตทางเรือ
เวลา 09.30 น. - การแข่งขันเรือพายชิงถ้วยพระราชทาน
13 ตุลาคม 2562 เวลา 10.30 น. - ทำบุญออกพรรษา
14 ตุลาคม 2562 เวลา 10.30 น. - ทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ
ประเพณีรับบัว
เป็นประเพณีเก่าแก่สืบทอดกันมาแต่โบราณของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในอดีต มีชาวบ้าน ที่เป็นชาวไทย ชาวลาว และชาวรามัญ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ ประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ต่อมาได้ช่วยกันพัฒนา พื้นที่รกร้าง ลำคลองอซึ่งเต็มไปด้วย ต้นอ้อ กอแขม และ วัชพืชต่างๆ มากมาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม ส่วนทางทิศใต้นั้นมีป่าล้อมรอบ น้ำมีสภาพเป็นน้ำเค็ม และทางทิศเหนือมีบึงใหญ่ที่มีบัวงอกงามอย่างหนาแน่นทั่วทั้งบริเวณ
ดังนั้นชาวไทย ชาวลาวและชาวรามัญ จึงได้ร่วมกันพัฒนาผืนดินแห่งนี้เรื่อยมา จนมาบรรจบกันที่ทางสามแยก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วย ปากน้ำลำคลอง 3 สาย ได้แก่ คลองสลุด คลองชวดลากข้าว และคลอดลาดกระบัง
ต่อมา ชาวรามัญที่แยกไปประกอบอาชีพ ณ คลองลาดกระบัง เริ่มมีรายได้และผลผลิตตกต่ำ เนื่องมาจากปัญหาศัตรูพืช นกหนูชุกชุม เข้ามาทำลายพืชผลเกตรกรรม จึงอพยพกลับสู่ถิ่นฐานเดิม คือฝั่งบ้านปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีกำหนดการเดินทางในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 พร้อมกับเก็บดอกบัวหลวงบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมบูชา พระคาถาพัน และได้บอกกับชาวไทยที่สนิทสนมว่า เมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ในปีต่อๆไป ขอให้คนไทยทั้งหลาย ช่วยกันเก็บดอกบัวหลวงไปไว้ ณ วัด หลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) สำหรับมอบให้พวกตนชาวรามัญ เพื่อนำไปเป็นพุทธบูชาในวันออกพรรษาต่อไป และด้วยน้ำใจที่คนไทยมีต่อชาวรามัญ จึงมีความยินดีที่จะทำตามที่ชาวรามัญได้ขอเอาไว้ หลังจากชาวรามัญได้พากันกราบนมัสการหลวงพ่อโต และอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ติดตัวไปด้วย แล้วจึงลากลับบ้านปากลัด เพื่อนำดอกบัวไปบูชาพระพันคาถา ที่ปากลัดต่อไป
ดังนั้น ในปีต่อๆมา เมื่อครบกำหนดวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวไทยจะเก็บดอกบัวมาไว้ที่วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) ตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับชาวรามัญ ซึ่งชาวรามัญจะเดินทางมารับดอกบัวเหล่านั้นในเวลา 3.00 - 5.00 น. และคนไทยก็ได้จัดเตรียมขนมคาวหวานนานาชนิดไว้สำหรับต้อนรับ เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้ว ชาวรามัญจะนำดอกบัวเข้าไปนมัสการหลวงพ่อโตในวิหารวัด และอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์กลับบ้านด้วย เพื่อเป็นสิริมงคล และนำดอกบัวอีกจำนวนหนึ่ง กลับไปบูชาพระคาถาพันอีกด้วย และประเพณีอันดีงานนี้ได้สืบทอดกันมาจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้
วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลอง ลงเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลอง ได้ร่วมสักการบูชาโดยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ มีความเชื่อกันว่า หากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดังหวัง
เวลา 10.30 น. - พิธีเปิดประเพณีรับบัว (ราชาแห่งฤกษ์)
เวลา 08.00 น. - ขบวนแห่หลวงพ่อโตทางรถ
เวลา 06.00 น. - ตักบาตรทางเรือ
เวลา 08.00 น. - ขบวนแห่หลวงพ่อโตทางเรือ
เวลา 09.30 น. - การแข่งขันเรือพายชิงถ้วยพระราชทาน
13 ตุลาคม 2562
เวลา 10.30 น. - ทำบุญออกพรรษา
14 ตุลาคม 2562 เวลา
10.30 น. - ทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ