วัดป่าคำหัวช้าง ตั้งอยู่ที่ ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ติดกับถนนสายมิตรภาพ ช่วงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 28 ก่อนจะถึงเขื่อนอุบลรัตน์ ด้านข้างทางจะสะดุดตากับรูปปั้นช้างหลากหลายรูปทรงและขนาดต่างๆ วางเรียงยาวเป็นพันๆหมื่นๆตัว
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อในอดีต บริเวณที่ตั้งของวัด เคยเป็นเส้นทางเดินทัพไปรบที่ประเทศลาว ทุกครั้งที่ออกหรือกลับจากรบ กองทัพจะมาพักที่บริเวณวัด เพื่อให้ไพร่พล ช้างศึก ม้าศึก ได้แวะพักกินน้ำที่หนองน้ำบริเวณใกล้ๆ วัด ซึ่งปัจจุบันตื้นเขินไม่เหลือสภาพเป็นหนองน้ำลึกเหมือนในอดีต มีอยู่ครั้งหนึ่งช้างศึกเชือกหนึ่งได้พลัดตกลงไปในหนองน้ำซึ่งลึกมาก พยายามเท่าไรก็ไม่สามารถดึงช้างเชือกดังกล่าวขึ้นจากหนองน้ำได้ในที่สุดจึงต้องปล่อยให้ช้างจมน้ำตาย
ต่อมาได้พบโครงกระดูก จึงมีการปั้นรูปช้างขนาดเท่าตัวจริงที่หน้าวัดขึ้น เพื่อระลึกถึงช้างเชือกดังกล่าว แต่ด้วยเหตุที่เป็นวัดจึงสร้างพระพุทธยืนปางประทานพรไว้หน้าช้างที่หมอบอยู่ ครั้งหนึ่งมีเจ้าที่มาเข้าร่างผู้ที่มาทำบุญที่วัด โดยบอกว่าเมื่อปั้นรูปช้างเสร็จให้ตั้งชื่อช้างด้วย ทั้งนี้เจ้าที่ที่มาเข้าร่างทรงนั้นให้ตั้งชื่อว่า "แก้วกระดิ่งทอง" พร้อมกับบอกด้วยว่า แก้วกระดิ่งทองเป็นชื่อช้างศึกของน้องสาวย่าโมแห่งเมืองโคราช และเป็นช้างเชือกเดียวกับที่พลัดตกลงไปตายในหนองน้ำ
ส่วนรูปปั้นชายแก่ในศาลปู่คำหัวช้างนั้น เป็นเจ้าที่ทางโค้ง ซึ่งในอดีตที่ถนนยังเป็น 2 เลนนั้น ได้เกิดอุบัติเหตุรถชนคนตายจำนวนมาก ถึงกับมีการเรียกว่า "โค้งร้อยศพ" จึงมีการแก้เคล็ดด้วยการสร้างรูปปั้นชายแก่ พร้อมกับย้ายที่ตั้งศาลเดิมมาอยู่รวมกับศาลปู่คำหัวช้าง และเมื่อมีการขยายถนนเป็น 4 เลน จึงปิดตำนานโค้งร้อยศพมาจนถึงทุกวันนี้
ผู้เดินทางไปกราบไหว้ขอพรพระ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มักจะแก้บนด้วย รูปปั้นช้าง เรียกกันว่า "ช้างแก้บน" ที่วัดป่าคำหัวช้าง ที่มาของช้างแก้บนนั้น มาจากความศรัทธาของคนที่มาขอพร บนบานศาลกล่าวกับปู่คำหัวช้างซึ่งเป็นช้างศึกในอดีต แล้วให้ได้ในสิ่งที่มุ่งหวัง และใครที่สมความปรารถนาก็จะนำช้างรูปปั้นขนาดต่างๆ มาแก้บน
วัดป่าคำหัวช้าง ตั้งอยู่ที่ ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ติดกับถนนสายมิตรภาพ ช่วงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 28 ก่อนจะถึงเขื่อนอุบลรัตน์ ด้านข้างทางจะสะดุดตากับรูปปั้นช้างหลากหลายรูปทรงและขนาดต่างๆ วางเรียงยาวเป็นพันๆหมื่นๆตัว
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อในอดีต บริเวณที่ตั้งของวัด เคยเป็นเส้นทางเดินทัพไปรบที่ประเทศลาว ทุกครั้งที่ออกหรือกลับจากรบ กองทัพจะมาพักที่บริเวณวัด เพื่อให้ไพร่พล ช้างศึก ม้าศึก ได้แวะพักกินน้ำที่หนองน้ำบริเวณใกล้ๆ วัด ซึ่งปัจจุบันตื้นเขินไม่เหลือสภาพเป็นหนองน้ำลึกเหมือนในอดีต มีอยู่ครั้งหนึ่งช้างศึกเชือกหนึ่งได้พลัดตกลงไปในหนองน้ำซึ่งลึกมาก พยายามเท่าไรก็ไม่สามารถดึงช้างเชือกดังกล่าวขึ้นจากหนองน้ำได้ในที่สุดจึงต้องปล่อยให้ช้างจมน้ำตาย
ต่อมาได้พบโครงกระดูก จึงมีการปั้นรูปช้างขนาดเท่าตัวจริงที่หน้าวัดขึ้น เพื่อระลึกถึงช้างเชือกดังกล่าว แต่ด้วยเหตุที่เป็นวัดจึงสร้างพระพุทธยืนปางประทานพรไว้หน้าช้างที่หมอบอยู่ ครั้งหนึ่งมีเจ้าที่มาเข้าร่างผู้ที่มาทำบุญที่วัด โดยบอกว่าเมื่อปั้นรูปช้างเสร็จให้ตั้งชื่อช้างด้วย ทั้งนี้เจ้าที่ที่มาเข้าร่างทรงนั้นให้ตั้งชื่อว่า "แก้วกระดิ่งทอง" พร้อมกับบอกด้วยว่า แก้วกระดิ่งทองเป็นชื่อช้างศึกของน้องสาวย่าโมแห่งเมืองโคราช และเป็นช้างเชือกเดียวกับที่พลัดตกลงไปตายในหนองน้ำ
ส่วนรูปปั้นชายแก่ในศาลปู่คำหัวช้างนั้น เป็นเจ้าที่ทางโค้ง ซึ่งในอดีตที่ถนนยังเป็น 2 เลนนั้น ได้เกิดอุบัติเหตุรถชนคนตายจำนวนมาก ถึงกับมีการเรียกว่า "โค้งร้อยศพ" จึงมีการแก้เคล็ดด้วยการสร้างรูปปั้นชายแก่ พร้อมกับย้ายที่ตั้งศาลเดิมมาอยู่รวมกับศาลปู่คำหัวช้าง และเมื่อมีการขยายถนนเป็น 4 เลน จึงปิดตำนานโค้งร้อยศพมาจนถึงทุกวันนี้
ผู้เดินทางไปกราบไหว้ขอพรพระ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มักจะแก้บนด้วย รูปปั้นช้าง เรียกกันว่า "ช้างแก้บน" ที่วัดป่าคำหัวช้าง ที่มาของช้างแก้บนนั้น มาจากความศรัทธาของคนที่มาขอพร บนบานศาลกล่าวกับปู่คำหัวช้างซึ่งเป็นช้างศึกในอดีต แล้วให้ได้ในสิ่งที่มุ่งหวัง และใครที่สมความปรารถนาก็จะนำช้างรูปปั้นขนาดต่างๆ มาแก้บน