วิมานพญาแถน ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร สร้างเป็นอาคารรูปร่างพญาคันคาก เป็นสถานที่จัดแสดงวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดยโสธร รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ มีความสูง 19 เมตร ซึ่งภายในวิมานพญาแถนนั้นประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนถึงตำนานบุญบั้งไฟของยโสธร และประติมากรรมขบวนแห่บั้งไฟ
ตามความเชื่อของชาวอีสานในเรื่องของประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และวิถีชีวิต เชื่อว่าโลกนั้นประกอบด้วย โลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล โดยโลกมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกเทวดาซึ่งขาวอีสานเรียกเทวดาว่าพญาแถน ซึ่งพญาแถนมีอิทธิพลต่อ ฝน ฟ้า ลม หากมนุษย์ทำให้พญาแถนโปรดปรานหรือพอใจ ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงเกิดพิธีการบูชาพญาแถนโดยการใช้บั้งไฟ เพื่อแสดงการเคารพและเป็นการขอฝนจากพญาแถน อันเป็นที่มาของประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรอันโด่งดัง
ตามตำนานเล่าว่า เมื่อสมัยก่อนพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นเจ้าชายคางคก หรือ พระยาคันคาก ซึ่งมีหน้าตาอัปลักษณ์ ผิวพรรณดั่งคางคก แต่มีสีเหลืองดุจทองคำ ซึ่งเป็นผู้ที่มีจิตใจเมตตาปราณีต่อมนุษย์และสัตว์ พระยาแถนได้ทราบข่าวจึงเกิดความอิจฉา เพราะเมื่อก่อนคนเคยไปนับถือพระยาแถน แต่ต่อมาคนหันไปให้ความนับถือพระยาคันคาก จึงเกิดความอิจฉาไม่ยอมให้ฝนตกลงบนโลกมนุษย์เป็นเวลา 8 ปี 8 เดือน ทำให้มนุษย์และสัตว์เกิดความเดือดร้อนและล้มตายจำนวนมาก ผู้ที่รอดชีวิตมาได้จึงรวมตัวกันต่อสู้กับพระยาแถน มนุษย์รวมมือกับพระยานาคา เพื่อทำสงครามกับพระยาแถน ผลสุดท้ายพระยานาคาก็ต้องพ่ายแพ้และบาดเจ็บ ต่อมาพระราชาแห่งผึ้งก็มาทำสงครามกับพระยาแถนอีก แต่ก็พ่ายแพ้เช่นกัน
หลังจากนั้นสิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็เกรงกลัวพระยาแถน ในที่สุดเจ้าชายคางคกก็วางแผนเพื่อสู้กับพระยาแถน โดยเริ่มจากขั้นแรก ส่งปลวกออกไปกัดกินดาบและอาวุธของพระยาแถน ขั้นที่สองส่งเจ้าชายแมงป่องไปกัดพระยาแถนและบริวาร ซึ่งแมงป่องจะซ่อนตัวอยู่ในเสื้อผ้าและกองฟืนของพระยาแถน ขั้นที่สาม เจ้าชายคันคากเดินทางออกไปสู้รบพร้อมกับบริวารซึ่งในขณะนั้นกองทัพของพระยาแถนอ่อนแอเนื่องจากถูกแมงป่องกัด เจ้าชายคางคกนั่งไปบนหลังช้างและต่อสู้กับพระยาแถน ในที่สุดพระยาแถนก็พ่ายแพ้ จึงยอมตกลงทำสนธิสัญญาสงบศึกกับพระยาคันดาก 3 ข้อดังนี้
1. พอถึงเดือน 6 ของทุกปีมนุษย์ต้องจุดบั้งไฟขึ้นท้องฟ้า เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้พระยาแถนทราบว่าถึงเวลาส่งฝนลงมายังโลกแล้ว (ในตำนานบางท้องถิ่นว่าให้แห่สัญญาลักษณ์เพศชายและหญิงเพื่อแสดงให้พระยาแถนทราบว่ามนุษย์มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไป)
2. เมื่อมีเสียงร้องของกบเป็นสัญญาณบอกว่าฝนตกแล้วเมื่อฝนตกลงมามนุษย์พร้อมที่จะปลูกข้าว
3. เมื่อมีเสียงคนเป่าโวตหรือเสียงธนูอยู่บนว่าวที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าเป็นสัญญาณบอกว่าถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้หยุดปล่อยฝนหรือปล่อยให้น้อยลง
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : http://pakkhadcity.com/about_history_payataan.html
วิมานพญาแถน ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร สร้างเป็นอาคารรูปร่างพญาคันคาก เป็นสถานที่จัดแสดงวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดยโสธร รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ มีความสูง 19 เมตร ซึ่งภายในวิมานพญาแถนนั้นประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนถึงตำนานบุญบั้งไฟของยโสธร และประติมากรรมขบวนแห่บั้งไฟ
ตามความเชื่อของชาวอีสานในเรื่องของประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และวิถีชีวิต เชื่อว่าโลกนั้นประกอบด้วย โลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล โดยโลกมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกเทวดาซึ่งขาวอีสานเรียกเทวดาว่าพญาแถน ซึ่งพญาแถนมีอิทธิพลต่อ ฝน ฟ้า ลม หากมนุษย์ทำให้พญาแถนโปรดปรานหรือพอใจ ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงเกิดพิธีการบูชาพญาแถนโดยการใช้บั้งไฟ เพื่อแสดงการเคารพและเป็นการขอฝนจากพญาแถน อันเป็นที่มาของประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรอันโด่งดัง
ตามตำนานเล่าว่า เมื่อสมัยก่อนพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นเจ้าชายคางคก หรือ พระยาคันคาก ซึ่งมีหน้าตาอัปลักษณ์ ผิวพรรณดั่งคางคก แต่มีสีเหลืองดุจทองคำ ซึ่งเป็นผู้ที่มีจิตใจเมตตาปราณีต่อมนุษย์และสัตว์ พระยาแถนได้ทราบข่าวจึงเกิดความอิจฉา เพราะเมื่อก่อนคนเคยไปนับถือพระยาแถน แต่ต่อมาคนหันไปให้ความนับถือพระยาคันคาก จึงเกิดความอิจฉาไม่ยอมให้ฝนตกลงบนโลกมนุษย์เป็นเวลา 8 ปี 8 เดือน ทำให้มนุษย์และสัตว์เกิดความเดือดร้อนและล้มตายจำนวนมาก ผู้ที่รอดชีวิตมาได้จึงรวมตัวกันต่อสู้กับพระยาแถน มนุษย์รวมมือกับพระยานาคา เพื่อทำสงครามกับพระยาแถน ผลสุดท้ายพระยานาคาก็ต้องพ่ายแพ้และบาดเจ็บ ต่อมาพระราชาแห่งผึ้งก็มาทำสงครามกับพระยาแถนอีก แต่ก็พ่ายแพ้เช่นกัน
หลังจากนั้นสิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็เกรงกลัวพระยาแถน ในที่สุดเจ้าชายคางคกก็วางแผนเพื่อสู้กับพระยาแถน โดยเริ่มจากขั้นแรก ส่งปลวกออกไปกัดกินดาบและอาวุธของพระยาแถน ขั้นที่สองส่งเจ้าชายแมงป่องไปกัดพระยาแถนและบริวาร ซึ่งแมงป่องจะซ่อนตัวอยู่ในเสื้อผ้าและกองฟืนของพระยาแถน ขั้นที่สาม เจ้าชายคันคากเดินทางออกไปสู้รบพร้อมกับบริวารซึ่งในขณะนั้นกองทัพของพระยาแถนอ่อนแอเนื่องจากถูกแมงป่องกัด เจ้าชายคางคกนั่งไปบนหลังช้างและต่อสู้กับพระยาแถน ในที่สุดพระยาแถนก็พ่ายแพ้ จึงยอมตกลงทำสนธิสัญญาสงบศึกกับพระยาคันดาก 3 ข้อดังนี้
1. พอถึงเดือน 6 ของทุกปีมนุษย์ต้องจุดบั้งไฟขึ้นท้องฟ้า เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้พระยาแถนทราบว่าถึงเวลาส่งฝนลงมายังโลกแล้ว (ในตำนานบางท้องถิ่นว่าให้แห่สัญญาลักษณ์เพศชายและหญิงเพื่อแสดงให้พระยาแถนทราบว่ามนุษย์มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไป)
2. เมื่อมีเสียงร้องของกบเป็นสัญญาณบอกว่าฝนตกแล้วเมื่อฝนตกลงมามนุษย์พร้อมที่จะปลูกข้าว
3. เมื่อมีเสียงคนเป่าโวตหรือเสียงธนูอยู่บนว่าวที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าเป็นสัญญาณบอกว่าถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้หยุดปล่อยฝนหรือปล่อยให้น้อยลง
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : http://pakkhadcity.com/about_history_payataan.html