อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
สันนิษฐานว่าเป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีพระพุทธรูปทองเหลืององค์ใหญ่นามว่า สมเด็จพระพุทธนวโลกุตร หรือ สมเด็จพระศรีเมืองทอง องค์ขนาดใหญ่
อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่ หลังจากหลวงพ่อโตชำรุดเสียหาย มีการสร้างพระมหาพุทธพิมพ์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร
อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ตามประวัติเล่าว่า พระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ ได้ทรงยกทัพมาตั้งรับกองทัพพม่าที่บ้านสระเกษและทรงได้รับชัยชนะ จากนั้นได้สรงน้ำชำระพระวรกาย ล้างพระพักตร์ และสระพระเกศา ณ ที่นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ วัดสระเกษ
อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
เป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานมีความเห็นว่าได้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง เมื่อกรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก เหลืออยู่เพียงซากปรักหักพัง